วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016



การแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2016 (อังกฤษ2016 UEFA European Football Championshipฝรั่งเศส:Championnat d'Europe de football 2016) หรือรู้จักกันในชื่อ ยูโร 2016 (Euro 2016) เป็นการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปครั้งที่ 15 จัดโดยสมาคมฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) โดยการแข่งขันรอบสุดท้ายจัดขึ้นที่ฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 10 มิถุนายน ถึงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีทีมลงแข่งขันในรอบสุดท้าย 24 ทีม เปลี่ยนจากการแข่งขันเดิมที่มี 16 ทีม ซึ่งเริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อ 1996 ภายใต้การจัดการแข่งขันแบบใหม่นั้น จะแบ่งเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ทีม รอบแพ้คัดออกจะมี 3 รอบ และนัดชิงชนะเลิศ โดย 24 ทีมแบ่งเป็น 19 ทีม (แชมป์กลุ่มและรองแชมป์กลุ่มของรอบคัดเลือก 9 กลุ่ม รวมไปถึงทีมอันดับที่ 3 ทีมีคะแนนดีที่สุด), ฝรั่งเศส ซึ่งเข้ารอบอัตโนมัติจากการเป็นเจ้าภาพ และ ทีมจากการแขงขันเพลย์ออฟแบบเหย้า-เยือนของทีมอันดับที่ 3 ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 4 ทีม

ประเทศฝรั่งเศส ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 หลังจากการจับสลากแบ่งสายการแข่งขัน โดยชนะ ประเทศอิตาลี และ ประเทศตุรกี ในการคัดเลือกเจ้าภาพครั้งนี้ ซึ่งการแข่งขันจะจัดที่ 10 สนาม ใน 10 เมือง: บอร์โดล็องส์ลีลลียงมาร์แซย์นิสปารีสแซ็ง-เดอนีแซ็งเตเตียน และ ตูลูซ โดยการจัดการแข่งขันครั้งนี้จะเป็นครั้งที่ 3 ในการเป็นเจ้าภาพของประเทศฝรั่งเศส หลังจากจัดการแข่งขัน ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1960 และ ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1984 ซึ่งทีมชาติฝรั่งเศสเป็นแชมป์ในรายการนี้ 2 ครั้ง คือปี 1984 และ 2000
ทีมที่ชนะเลิศจะได้สิทธิ์เข้าไปแข่งขันใน ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2017 ที่ประเทศรัสเซีย

    สนามแข่งขัน  


ในครั้งแรกนั้น ฝรั่งเศสได้เสนอสนามแข่งขันจำนวน 12 แห่ง ในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 หลังจากนั้นได้ลดลงมาเหลือ 9 แห่งในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 แต่กลับมาเลือกใช้ 11 สนามในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554และสุดท้าย สหพันธ์ฟุตบอลฝรั่งเศส จะเลือกเพียง 9 สนามที่จะใช้ในการแข่งขันนี้
ซึ่งในส่วนของ 7 สนามแรกที่จะเลือกนั้น ได้แก่ สตาดเดอฟร็องส์ ซึ่งเป็นสนามเหย้าของทีมชาติฝรั่งเศส, อีก 4 สนามที่สร้างขึ้นใหม่ในลีลลียงนิส และ บอร์โด และสนามในปารีสกับ มาร์แซย์ ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ ส่วนอีก 2 แห่งนั้น หลังจากที่สทราซบูร์ ได้ถอนตัวเนื่องจากมีปัญหาทางด้านการเงิน โดยในการโหวตรอบแรกเลือกล็องส์ และ น็องซี เป็นเมืองที่จัดการแข่งขันแทนแซ็งเตเตียน กับ ตูลูซ โดยจะจัดเป็นสนามแข่งขันสำรองแทน
ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 สนามแข่งขันได้เพิ่มเป็น 11 แห่ง เนื่องจากการแข่งขันใหม่จะมี 24 ทีมเข้าแข่งขัน ต่างจากครั้งก่อนหน้าซึ่งมีเพียง 16 ทีม โดยอีก 2 เมืองที่เพิ่มเข้ามาคือแซ็งเตเตียน กับ ตูลูซ อย่างไรก็ตาม ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 น็องซีได้ขอถอนตัวจากการเป็นเมืองที่ใช้ในการแข่งขัน หลังจากมีปัญหาจากการปรับปรุงสนาม[10] ทำให้เหลือ 10 เมืองที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน
โดยในการแข่งขันครั้งนี้ สตาดเดอลาโบฌัวร์ ใน น็องต์ กับ สตาดเดอลามอซง ใน มงเปอลีเย (สนามแข่งขันฟุตบอลโลก 1998) ไม่ถูกเลือกใช้จัดการแข่งขัน ซึ่งสนามแข่งขันทั้ง 10 สนามได้รับการยืนยันจากคณะกรรมการของยูฟ่าในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556


ความหมายวันไหว้ครู

     



          วันไหว้ครู เป็นกิจกรรมหนึ่งที่สถาบันการศึกษาทุกระดับทุกแห่งจัดขึ้นในช่วงต้น ๆ ของปีการศึกษา สะท้อนถึงคุณค่าทางจิตใจของคนไทย
            - สะท้อนถึงความผูกพันใกล้ชิดระหว่างครูกับศิษย์
            - สะท้อนให้เห็นถึงความกตัญญูรู้คุณของสังคมไทยต่อผู้มีพระคุณ
            - สะท้อนให้เห็นถึงความรัก ความเมตตา ของครูต่อศิกษย์
            - สะท้อนถึงความละเอียดอ่อนทางจิตใจ
            - แฝงสาระที่เป็นคติธรรมสอนใจมากมาย
          วันไหว้ครู เป็นวันที่นักเรียนจะได้แสดงคุณธรรมในจิตใจ คือไหว้ครู คำว่า  ไหว้ครู  นั้น เป็นถ้อยคำธรรมดาสามัญที่เข้าใจกันอยู่ และทราบถึงความหมายกันเป็นอย่างดี แต่ก็จะขอขยายความคำว่า  ไหว้ครู  เพื่อประกอบความรู้และประดับสติปัญญาตามสมควร
           ไหว้ครู  เป็นคำไทย 2 คำ นำมาเชื่อมกัน คือคำว่า ไหว้  กับคำว่า  ครู  แต่ละคำมีความหมายอยู่ในตัว คำว่า ไหว้ ก็หมายถึงการแสดงสัมมาคารวะ การบูชา การแสดงความนับถือ การแสดงความเทิดทูน นี่เรียกว่า  ไหว้  เป็นคำกิริยาที่ใช้กันเป็นประเพณีนิยมของไทย และในบางกรณีคำนี้ ก็ย่อมจะกินความคลุมไปถึง กราบซึ่งในความหมายว่ายอมตนลงราบคาบด้วย เพราะฉะนั้นไหว้ก็ดีกราบก็ดี รวมอยู่ในความหมายอันเดียวกัน คือ แสดง ความยกย่อง แสดงอาการเชิดชูบูชานับถือ 
           โอกาสนี้เราทั้งหลาย ได้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อครู อาจารย์ ซึ่งเป็นผู้ที่ให้ความถนัด ครูนั้นเป็นทิศๆ หนึ่งในจำนวนทิศทั้ง 6 โดยเฉพาะเป็นทิศเบื้องขวา เรียกว่า ทักขิณ ทิศที่ว่าให้ความถนัด คือเป็นผู้ให้วิชาความรู้แก่เรา      
  ประโยชน์ของการไหว้ครู
          หากการแสดงคุณธรรมด้วยการไหว้ไม่ได้ประโยชน์อะไรแล้ว ประเพณีน่าจะเลิกกันเสียที แต่ที่ต้องไหว้กันอยู่ประจำทุกปี ทุกโรงเรียน แสดงว่าต้องมีประโยชน์ ประโยชน์ของการไหว้ คือ
          1. ผู้ไหว้ได้รับความเมตตาจากผู้ถูกไหว้ 
          2. ผู้ไหว้ได้รับความสบายใจ 
          3. ช่วยให้ผู้ถูกไหว้หันมาสำรวจตรวจตราพัฒนาตนเอง 
          4. ได้รักษาเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทยไว้ 
          5. บรรเทาโทษเสียได้ 
          โบราณท่านกล่าวว่า "ศรต้องมีพิษ ศิษย์ต้องมีครู ศิษย์มีครูเหมือนงูมีพิษ ศิษย์ไม่มีครู เหมือนงูไม่มีพิษ" ไม่น่ากลัวอะไร ไม่ต่างอะไรกับปลาไหล รอเวลาให้เขาผัดเผ็ดเท่านั้น "ศิษย์ดีต้องมีคุณธรรม ศิษย์ไม่ได้ความคุณธรรมไม่มี" นักเรียนจะต้องรู้จักข้าว ข้าวรวงโตที่มีวิตามิน เวลามันออกรวง จะน้อมรวงถ่วงยอดแสดงอาการดุจคารวะแม่พระธรณี แต่ข้าวรวงใดที่ชี้เด่แทบจะทิ่มก้นเทวดา แสดงว่าข้าวรวงนั้นไม่มีวิตามิน เป็นข้าวขี้ลีบ คนก็เหมือนกัน หากรู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน แสดงว่าเป็นคนมีคุณภาพเป็นผู้มีคุณธรรม บางคนเป็นโรคสันหลังแข็งก้มไม่ลง บุคคลนั้นไม่ต่างอะไรกับข้าวขี้ลีบ
  พิธีไหว้ครู
          พิธีไหว้ครู หรือ การไหว้ครู มีหลายอย่าง เช่น การไหว้ครูนาฏศิลป์ ไหว้ครูดนตรี ไหว้ครูโหราศาสตร์ ไหว้ครูแพทย์แผนไทย เป็นต้น  ซึ่งแต่ละอย่างก็จะมีรายละเอียดแตกต่างกันออกไป แต่โดยทั่วไป เมื่อเอ่ยถึง พิธีไหว้ครู เรามักจะหมายถึง การไหว้ครูในสถาบันการศึกษาต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะทำในช่วงเปิดภาคการศึกษา  การไหว้ครู เป็นประเพณีสำคัญที่มีมาแต่โบราณ ถือเป็นพิธีกรรมที่แสดงความเคารพและระลึกถึงพระคุณของบูรพาจารย์ ครูอาจารย์ผู้ประสิทธิ์วิชาความรู้ให้ ทำให้เราสามารถนำไปประกอบวิชาชีพ สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ตนเองและครอบครัวได้ในอนาคต โดยทั่วไป พิธีไหว้ครูมักจะจัดในวันพฤหัสบดี ด้วยถือว่าพระพฤหัสเป็นเทพที่ส่งเสริมวิทยาการและความเฉลียวฉลาด ซึ่งเป็นคุณสมบัติของครู จึงถือเอาวันนี้เป็นวันไหว้ครู เพื่อความเป็นสิริมงคล
  คำสวดไหว้ครูทำนองสรภัญญะ
      ปาเจรา จริยา โหนติ คุณุตตรา นุสาสกา
      ข้าขอประณตน้อมสักการ บูรพคณาจารย์ ผู้กอรปเกิดประโยชน์ศึกษา 
      ทั้งท่านผู้ประสาทวิชา อบรมจริยา แก่ข้าในกาลปัจจุบัน
      ข้าขอเคารพอภิวันท์ ระลึกคุณอนันต์ ด้วยใจนิยมบูชา
      ขอเดชกตเวทิตา อีกวิริยะพา ปัญญาให้เกิดแตกฉาน
      ศึกษาสำเร็จทุกประการ อายุยืนนาน อยู่ในศีลธรรมอันดี
     ให้ได้เป็นเกียรติเป็นศรี ประโยชน์ทวี แก่ข้าและประเทศไทย เทอญ
ปัญญา วุฑฒิ กเร เต เต ทินโนวาเท นมามิหํ
  คำปฏิญาณตน
เราคนไทย ใจกตัญญู รู้คุณชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
เรานักเรียนจักต้องประพฤติตนให้อยู่ในระเบียบวินัยของโรงเรียน
 มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น
เรานักเรียนจักต้องปฏิบัติตนไม่ให้เป็นที่เดือดร้อนต่อตนเองและผู้อื่น
สิ่งที่ต้องเตรียมในการไหว้ครู
          การไหว้ครู ในอดีตนั้น มักจะใช้ หญ้าแพรก ข้าวตอก ดอกมะเขือ และดอกเข็ม เป็นองค์ประกอบในพานดอกไม้แต่ละอย่างล้วนเป็นปริศนาธรรมทั้งสิ้น
           

          - หญ้าแพรก เป็นตัวแทนที่แสดงถึงความเข้มแข็ง อดทนถึงแม้จะแห้งแล้ง คนเดินเหยียบย่ำ หญ้าแพรกก็จะไม่ตาย พอได้รับโอกาสที่เหมาะสม ได้รับความชุมชื้น ก็จะแตกยอดเจริญงอกงามเป็นอย่างดี  ครูจึงต้องเป็นผู้ที่เข้มแข็งอดทนต่อปัญหาต่าง ๆ ของนักเรียนนักศึกษามากมาย และค่อย ๆสะท้อนปลูกฝังความมุ่งมั่นอดทน เข้มแข็งไปสู่นิสัยของนักเรียน นักศึกษา ฝึกให้เขาเข้มแข็งอดทนให้จงได้

         - ข้าวตอก เป็นข้าวที่เกิดจากการใช้เมล็ดข้าสารไปคั่ว โดยมีฝาครอบไว้ เมื่อได้รับความร้อนระดับหนึ่ง เมล็ดข้าวก็จะพองตัวและแตกตัวออกเป็นข้าวตอก มีกลิ่นหอม  เช่นเดียวกับการให้การศึกษา ครูผู้สอนต้องให้การอบรมคู่กันไปด้วย "อบเพื่อให้สุกรมเพื่อให้หอม" เช่นเดียวกับการทำข้าวตอก
            การสั่งสอนอบรมของครู บางครั้งต้องมีการว่ากล่าวตักเตือน ติติงหรือทำโทษ ในการกระทำที่ไม่เหมาะสมเสมือนการใช้ความร้อนกับเมล็ดข้าว โดยมีกฏระเบียบหรือแนวปฏิบัติ เสมือนเป็นฝาครอบ ไม่ให้ลูกศิษย์กระเด็นกระดอนออกนอกลู่นอกทาง ครูจึงต้องทำหน้าที่สั่งสอนอบรมให้นักเรียน นักสึกษาเป็นดังเช่นข้าวตอก คือ "สุกและหอม" ซึ่งหมายถึง การสั่งสอนแนะนำให้เขามีความรู้ความสามารถและเป็นคนดีที่ยอมรับนั่นเอง

          - ดอกมะเขือ ลักษณะของดอกมะเขือ เวลาบานจะสีขาวสะอาดและดอกจะโน้มคว่ำลงพื้นดินซึ่งก็เป็นปริศนาธรรม แสดงถึงความสะอาดบริสุทธิ์ของจิตใจ เป็นคนซื่อสัตย์ อ่อนน้อมถ่อมตนเสมอ

          - ดอกเข็ม ลักษณะของดอกเข็มจะมียอดดอกแหลม ซึ่งเป็นปริศนาธรรมว่า ครูต้องจัดการเรียนการสอนเพื่อปลูกฝังความคิด ให้นักเรียนนักศึกษาเป็นคนฉลาด(หัวแหลม) รู้จักวิเคราะห์วิจารณ์ ใช้ความคิดให้เป็นประโยชน์แก้ปัญหาต่าง ๆ ที่พบเห็น ความเฉียบคมทางความคิดจะทะลุทะลวงทุกปัญหาได้
             คนโบราณช่างชาญฉลาดที่จะสอนศิษย์ด้วยกลวิธีต่าง ๆ แม้กระทั่งการใช้ดอกไม้ต้นไม้ ฯลฯ เป็นสื่อการสอนทำให้ลูกศิษย์ให้ยุคก่อนเก่าได้เรียนรู้จากธรรมชาติ และรู้จักกตัญญูรู้คุณผู้ที่เป็นครูบาอาจารย์อยู่ตลอดไป และการที่เราใช้ "หญ้าแพรกดอกมะเขือ" ในการไหว้ครูนั้น เพราะเป็นของหาง่าย งอกงามอยู่ทั่วไป
            ตอนเช้าตรู่วันพฤหัสซึ่งเป็นวันไหว้ครู เด็กๆจะไปโรงเรียนเช้าเป็นพิเศษ เพื่อ่ไปช่วยกันจัดพานดอกไม้ ซึ่งอาจมีการปักดอกบานไม่รู้โรย ดอกดาวเรือง ดอกกุหลาบบ้าน แซมด้วยหญ้าแพรกและดอกมะเขือ พานดอกไม้นี้เด็กนักเรียนหญิงจะเป็นคนถือ ส่วนเด็กผู้ชายจะถือธูปเทียนและช่อดอกไม้ ( ช่อดอกไม้หมายถึงดอกไม้ที่หาได้เอามารวมกัน แซมด้วยหญ้าแพรกและดอกมะเขือเช่นกัน)
            พิธีไหว้ครูจึงเป็นพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ที่นักเรียนทุกคนร่วมแรงร่วมใจกันมาแสดงความเคารพและระลึกบุญคุณของครูอาจารย์อย่างแท้จริง

ข้อมูลจาก 
- รศ.เฉลา  ประเสริฐสังข์  http://vannessa.exteen.com 
- http://www.act.ac.th/knowledge/teacher/index.asp 
- http://noknoi.com



การวิจัยในชั้นเรียน : ความสำคัญของการวิจัยในชั้นเรียน




การวิจัยในชั้นเรียน : ความสำคัญของการวิจัยในชั้นเรียน

     การวิจัยในชั้นเรียนมีความสำคัญต่อวงการวิชาชีพครูเป็น อย่างยิ่ง เนื่องจากครูจำเป็นต้องพัฒนาหลักสูตร วิธีการเรียนการสอน การจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเรียน การพัฒนาพฤติกรรมผู้เรียน การเพิ่มสัมฤทธิผลการเรียน และการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยในชั้นเรียนเป็นการเปลี่ยนแปลงบทบาทดั้งเดิมของครูที่มีความเชี่ยวชาญและสนใจเรื่องการสอนโดยเน้นเนื้อหาสาระของบทเรียน จึงทุ่มเทการศึกษา ค้นคว้า หาข้อมูล ทฤษฎี ที่เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร มากกว่าการศึกษาวิธีการพัฒนาหรือปรับปรุงการเรียนรู้ของผู้เรียน ผลงานของอาจารย์ส่วนใหญ่จึงเป็นผลงานหนังสือ ตำรา บทความหรือเอกสารทางวิชาการมากกว่าผลงานวิจัย
     ปัจจุบัน การวิจัยมีบทบาทเพิ่มขึ้นเนื่องจากการขยายตัวทางการศึกษา ที่เปิดระดับการศึกษาถึงขั้นปริญญาโทและปริญญาเอกในประเทศไทย ทำให้มีการเรียนการสอนระเบียบวิธีวิจัย ตลอดจนการกำหนดให้ทำวิทยานิพนธ์ในระดับบัณฑิตศึกษา จึงมีผู้รู้วิธีการทำวิจัยเพิ่มขึ้น ที่สำคัญคือการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ หรือ การเลื่อนระดับของผู้อยู่ในสายวิชาชีพทางการศึกษา มีข้อกำหนดให้ส่งผลงานวิชาการและงานวิจัย เป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณา ผู้ที่อยู่ในแวดวงการศึกษาจึงต้องหันมาสนใจเรื่องของการวิจัยเพิ่มขึ้น ประกอบกับการที่กฎหมายได้กำหนดให้มีการส่งเสริมการวิจัยในมาตรา ๒๔ ดังนี้
     มาตรา ๒๔ การจัดกระบวนการเรียนรู้ ….(๕) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมสื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และมีความรอบรู้ รวมทั้งความสามารถใช้การวิจัย เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอน และแหล่งวิทยาการต่างๆด้วยปัจจัยดังกล่าวจึงทำให้ครูอาจารย์ต้องเปลี่ยน บทบาทจากผู้สอนมาเป็นผู้วิจัยเพื่อมีส่วนร่วมในการพัฒนาการสอน การเรียนรู้ของผู้เรียน และการพัฒนาวิชาชีพครูเพิ่มขึ้น
ความหมายของการวิจัยในชั้นเรียน

การวิจัยในชั้นเรียน หมายถึงการวิจัยที่ทำในบริบทของชั้นเรียน และมุ่งนำผลการวิจัยมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนของตน เป็นการนำกระบวนการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาครูให้ไปสู่ความเป็นเลิศ และมีอิสระทางวิชาการ (ทิศนา แขมมณี 2540: 5)
การวิจัยในชั้นเรียน คือกระบวนการแสวงหาความรู้อันเป็นความจริงที่เชื่อถือได้ ในเนื้อหาเกี่ยวกับการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนในบริบทของชั้นเรียน (สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม 2540: 3)
การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน เป็นการศึกษาค้นคว้าของครู ซึ่งจัดว่าเป็นผู้ปฏิบัติงานในชั้นเรียนเพื่อแก้ปัญหา (Problem Solving) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือพฤติกรรมนักเรียนและคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking) เพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน (ประวิต เอราวรรณ์ 2542: 3)
การวิจัยในชั้นเรียน คือการวิจัยที่ทำโดยครูผู้สอนในห้องเรียน เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียนและนำผลมาใช้ปรับปรุงการเรียนการสอน เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน เป็นการวิจัยที่ต้องทำอย่างรวดเร็ว นำผลไปใช้ทันทีและสะท้อนข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติงานต่าง ๆ ของตนเอง ให้ทั้งตนเองและกลุ่มเพื่อนร่วมงาน (สุวิมล ว่องวานิช 2543: 163)
การวิจัยในชั้นเรียน คือกระบวนการแสวงหาความจริงด้วยวิธีการที่เชื่อถือได้ในเนื้อหาที่เกี่ยวกับ การจัดการเรียนการสอน เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาความสามารถของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ (ประกอบ มณีโรจน์ 2544: 4)
จากที่กล่าวมานี้สรุปได้ว่า การวิจัยในชั้นเรียนเป็นการวิจัยที่ครูทำเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในห้อง เรียนของผู้เรียนบางคน บางกลุ่ม หรือทั้งหมด ซึ่งผลการวิจัยสามารถนำมาใช้ในการปรับปรุงการเรียน การสอน และพฤติกรรมของผู้เรียน โดยมีกระบวนการวางแผน ปฏิบัติตามแผน สังเกตผลที่เกิดขึ้น และการสะท้อนความคิด

ลักษณะสำคัญของการวิจัยในชั้นเรียน 

ลักษณะของการวิจัยในชั้นเรียนมีจุดเด่นที่แตกต่างจากการวิจัยอื่นๆ ดังนี้
๑. ครูเป็นผู้วิจัยเอง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้แก่วงการวิชาชีพครู
๒. ผลการวิจัยสามารถแก้ปัญหาผู้เรียนได้ทันเวลา และตรงจุด
๓. การวิจัยช่วยเชื่อมช่องว่างระหว่างทฤษฏีและการปฏิบัติ
๔. การเพิ่มศักยภาพการคิดสะท้อน(Reflective Thinking) ของครูต่อปัญหาที่เกิดในห้องเรียน
๕. การเพิ่มพลังความเป็นครูในวงการการศึกษา
๖. การเปิดโอกาสให้ครูก้าวหน้าทางวิชาการ
๗. การพัฒนา และทดสอบการแก้ปัญหาในชั้นเรียน
๘. การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิดเรื่องการเรียนการสอน และทางแก้ปัญหา
๙. การนำเสนอข้อค้นพบและการรับฟังข้อเสนอแนะจากกลุ่มครู
๑๐. การวิจัยและพัฒนาเป็นวงจร (Cycle) เพื่อทำให้ข้อค้นพบสมบูรณ์ขึ้น
โดยที่จุดมุ่งหมายของการวิจัยเป็นการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ดังนั้นการเขียนรายงานการวิจัยจึงขึ้นอยู่กับผู้วิจัยว่าจะนำผลวิจัยไปทำ อะไร แต่ลักษณะของการวิจัยต้องสอดคล้องตามที่ได้กล่าวแล้ว
ที่มา : https://etraining2012.wordpress.com

วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บทความ-ครูมืออาชีพ…อาชีพครู

“ครู” มืออาชีพ…อาชีพ “ครู” คนละเรื่องเดียวกัน

“ครู” ถือเป็นอาชีพที่มีความสำคัญต่อคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ ระบบการศึกษา ตลอดจนการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต หากประเทศใดที่มี “ครู” ที่มีคุณภาพ ย่อมเป็นเครื่องการันตีได้ถึงแนวโน้มในการมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ…
ประเทศ ไทยเป็นหนึ่งในหลายประเทศที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของครูให้มี สมรรถนะและมีความสามารถที่เพียงพอต่อการเป็นหนึ่งใน “เสาหลัก” แห่งการพัฒนาประเทศ ดังจะเห็นได้จากตั้งแต่ในปี 2542 ที่ผ่านมา ได้มีการปฏิรูประบบการศึกษาไทย ไม่ว่าจะครู คณาจารย์ และบุคลากรการศึกษา รวมอยู่ด้วย โดยเป็นการปฏิรูปครูทั้งระบบ ตั้งแต่ระบบการผลิตครู การพัฒนาครู การควบครูวิชาชีพ และการบริหารงานบุคคล
ส่วนของระบบการ ผลิตครูนั้น ได้มีการปรับหลักสูตรที่ใช้ในการผลิตครูที่เป็นผู้สอนในระดับการศึกษาขั้น พื้นฐาน ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยเริ่มใช้หลักสูตร 5 ปี ครั้งแรก ตั้งแต่ปีการศึกษา 2547
และ ณ วันนี้ จากการสิ้นสุดการอบรมด้วยหลักสูตรดังกล่าวนอกจากจะทำให้ได้ “ครูรุ่นใหม่” จำนวนถึง 2,041 คนแล้ว การอบรมที่เข้มงวดตลอดระยะเวลา 5 ปี ยังทำให้ระบบการศึกษาไทยได้บุคคลที่ประกอบ “อาชีพครู” ที่เป็น “ครูอาชีพ” อีกด้วย
ความแตกต่างที่ชัดเจนที่สุดระหว่าง “อาชีพครู” กับ “ครูอาชีพ” คงหนีไม่พ้น “ครูอาชีพ” คือ ครูที่มีความรู้ ความสามารถ ความเมตตากรุณา จิตวิญญาณของความเป็นครูในการอบรมสั่งสอนนักเรียนอย่างสุดความสามารถ โดยไม่รู้จักเหน็ดจักเหนื่อย แม้ว่าปัจจุบันจะมีบุคคลที่ได้ชื่อเป็นเพียงผู้ประกอบ “อาชีพครู” แอบแฝงในแวดวงครูอยู่บ้าง แต่ก็เชื่อว่าครูรุ่นเก่า
หรือแม้แต่ครูรุ่นใหม่ที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตร 5 ปีนั้น ส่วนใหญ่ต่างมีความเป็น “ครูอาชีพ” อย่างเต็มเปี่ยมแน่นอน…
อย่าง ไรก็ตาม ความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยในยุคที่เต็มไปด้วยความวุ่นวายนั้น ย่อมส่งผลให้ “ครู” ถูกคาดหวังจากสังคมในการทำหน้าที่เป็น “เบ้าหลอม” แห่งการผลิตทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นทั้งคนดี คนเก่ง และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขในสังคม
จากความคาดหวังที่สังคมมีต่อ “ครู” ในขณะนี้ ส่งผลให้ “ครูมืออาชีพ” จำเป็นต้องมีการจัดการเรียนการสอน และพัฒนาตัวเองในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การพัฒนาความสามารถด้านการสอน โดยการจัดการองค์ความรู้ที่จะสอนอย่างมีคุณภาพ ทั้งในแง่การพัฒนาความรอบรู้ ในเนื้อหาสาระของวิชาที่จะสอนอย่างลึกซึ้ง การจัดการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ โดยเน้นการอบรมสั่งสอนที่พัฒนาทักษะชีวิต สุขภาพกาย สุขภาพจิต เพื่อให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้อย่างมีระบบ การจัดกิจกรรมเพื่อให้ผูเรียนคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาได้ มีการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี สารสนเทศ เพื่อการจัดการความรู้ และมีการวัดและประเมินคุณภาพผู้เรียนจากผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง
การ ดำรงชีวิตอย่างมีวินัย มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยการเป็นผู้ที่มีวินัย ตรงต่อเวลา ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ กติกาของสังคม มีความประพฤติที่เป็นแบบอย่างที่ดีทั้งทางกาย แต่งกายเหมาะสมกับกาลเทศะ มีมารยาท และเป็นมิตรกับลูกศิษย์ ตามบทบาทและสถานการณ์ ทางวาจา สุภาพ จริงใจและสร้างสรรค์ ที่ก่อให้เกิดกำลังใจ และเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น และทางใจ มีความเมตตา กรุณา กตัญญูกตเวที ซื่อสัตย์สุจริต มีความเป็นกัลยาณมิตร อดทน มีอุดมการณ์เพื่อส่วนรวม ตลอดจนดำรงชีวิตอย่างเหมาะสมกับฐานะ และมีความรักศรัทธา และยึดมั่นในอุดมการณ์แห่งวิชาชีพ
หรือแม้แต่การ ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น เพื่อการพัฒนาตนเอง โดยบทบาทหน้าที่ที่ได้รับจากสังคมนั้น นอกจากจะทำให้ “ครู” จำเป็นต้องรู้จักเปิดใจ เปิดสมอง ในการยอมรับความคิดเห็น หรือความรู้ใหม่แล้ว การรู้จักพัฒนาตนเอง ใฝ่รู้ ศึกษาหาความรู้ใหม่ตลอดเวลา นำความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีใหม่ๆ มาพัฒนาการเรียนการสอนให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
หากพิจารณาจาก แนวทางในการปฏิบัติตน ทำให้พบว่า “ครูมืออาชีพ” ต้องเป็นครูที่มีความรอบรู้วิชาการที่ตนเองได้ศึกษามา และต้องสามารถถ่ายทอดสิ่งที่ตนเองมีความรอบรู้ให้กับนักเรียนด้วยวิธีการที่ หลากหลาย และสามารถทำให้นักเรียนมีการเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพ สามารถทำงานร่วมกับครู ชุมชนและสังคมได้เป้นอย่างดี
ซึ่งหาก “ครูมืออาชีพรุ่นเก่าลายคราม…เก่า หรือใหม่แกะกล่อง” สามารถปฏิบัติตนได้อย่างที่กล่าวในข้างต้น เชื่อว่าระบบการศึกษาของประเทศไทยจะมีคุณภาพมากกว่าที่ปรากฏเฉกเช่นในขณะนี้ อย่างแน่นอน…
เมื่อ “ครู” มีความเป็น “มืออาชีพ” อย่างเต็มเปี่ยม สังคมก็คงจะสัมผัสได้ว่า เหตุใด “ครูอาชีพ” กับ “อาชีพครู” ถึงเป็นคนละเรื่องเดียวกัน…
คงไม่ต้องอธิบายให้ยืดยาว แค่พิจารณาการทำงานก็น่าจะเห็นชัดเจน…!!